พราหมณ์ -ฮินดู จากอินเดีย สู่อาเซียน

เอเชียใต้แหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลก อาทิ ศาสนาพรามหมณ์ – ฮินดู พุทธ ซิกข์ เชน เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนมีวิธีปฏิบัติ ประวัติการก่อกำเนิดที่น่าสนใจ ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด กำเนิดที่ประเทศอินเดีย ลุ่มแม่น้ำสินธุ ประมาณ 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่ปรากฏว่าใครเป็นศาสดาหรือผู้ก่อตั้ง มีคัมภีร์พระเวทเป็นแหล่งรวบรวมคำสอน มาจากเหล่าฤาษีที่นำไปกล่าวบอกกันปากต่อปาก แล้วมารวบรวมเกิดเป็นคัมภีร์พระเวทขึ้น

ศาสนาฮินดู จะนับถือเทพเจ้า เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ถ้าใครเคยดูซีรี่ส์อินเดียที่เกี่ยวกับตำนานเทพเจ้า พอจะทราบกันบ้างแล้วว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

  • พระศิวะ (พระอิศวร) ผู้ทำลาย
  • พระนารายณ์ (พระวิษณุ) ผู้ปกป้องรักษา
  • พระพรหม ผู้สร้าง

อารยธรรม สถาปัตยกรรม หลากหลายมุ่งสู่ดินแดนที่เรียกว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน จากหลักฐานทั้งจากสิ่งที่จับต้องได้ เช่น ปราสาทหิน รูปปั้น ประติมากรรมฝาผนัง สิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงยุคปัจจุบัน

บริเวณหน้าปราสาทนครวัด
รูปภาพจาก http://www.indochinaexplorer.com/program_detail.php?country=cambodia&code=CA-Hilight-001-3D2N

ปราสาทหินนครวัด สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ระหว่าง พ.ศ.1650-1693 หรือตรงกับสมัยสุโขทัยของไทยในช่วงนั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ฝังศพของพระองค์ รวมถึงสร้างถวายแด่องค์นารายณ์ นอกเหนือจากความใหญ่โตมหึมาแล้ว สถาปัตยกรรมที่เป็นที่พูดถึงอย่างมาก รูปแกะสลักนางอัปสราที่มีมากมาย หน้าตาที่ไม่เหมือนกันเลยสักนาง ลักษณะท่าทางที่แตกต่าง มีอยู่นับพัน ๆ นาง บริเวณรอบปราสาทนครวัดแห่งนี้

รูปแกะสลักประติมากรรมนางอัปสราบางส่วนนครวัด
รูปภาพจาก https://image.makewebeasy.net/makeweb/0/q30cMsAxv/RELAX/IMG_8556.jpg

ตามความเชื่อของคนขอม นางอัปสรามีหน้าที่รับใช้และปกป้องรักษา นครวัดแห่งนี้ เวลาผ่านไปหลายร้อยปีจนกระทั่งถูกค้นพบโดยบังเอิญ นางอัปสราหลายพันนางก็ยังคงทำหน้าที่ได้อย่างดีจนถึงปัจจุบัน

ปราสาทนครวัดตั้งอยู่ที่จังหวัดเสียบเรียบ หรือเสียบราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา

ศิวะลึงค์ หรือสัญลักษณ์ตัวแทนของพระศิวะ

ถ้าเปรียบเทียบกับพุทธศาสนา พระพุทธรูปเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า สำหรับศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู เทพเจ้าสูงสุดคือ องค์พระศิวะ ตัวแทนพระองค์คือศิวลึงค์ หรืออวัยวะเพศชาย สิ่งที่คู่กับศิวลึงค์คือโยนี หรืออวัยวะเพศหญิง ซึ่งหมายถึงพระแม่อุมาเทวี ในประเทศไทยยังคงมีให้พบเห็นบ้าง แต่คนไทยบางส่วนก็ยังนับถือเทพเจ้าของเหล่าศาสนาพรามณ์-ฮินดูกันในปัจจุบัน

รูปศิวะลึงค์ ในปราสาทหินพนมรุ้ง เชื่อว่าศิวะลึงค์แทนตรีมูรติ 3 พระองค์ ซึ่งได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม
รูปภาพจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/jummum/2008/12/15/entry-2

ศิวะลึงค์และโยนี อยู่ด้วยกัน อันหมายถึงความไม่สมบูรณ์ นความไม่เป็นมนุษย์หรือในรูปแบบตัวแทนพระองค์ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ.นครศรีธรรมราช
http://www.archae.su.ac.th/art_in_south/index.php/collections/nakaornsrithammarat/item/48-museum-nakorn-a08.html

ศิวะลึงค์และโยนี ที่ผู้คนนับถือจะมาทำการบูชาหรือขอพรจากพระศิวะและพระแม่อุมาเทวี รูปข้างต้นเป็นศิวะลึงค์และโยนีข้างเซนทรัลปิ่นเกล้า

ศาลพระภูมิ

เชื่อว่าหลากหลายครัวเรือนในประเทศไทย จะต้องมีศาลพระภูมิตั้งอยู่ที่บ้านแน่นอน เป็นที่สถิตของเทพารักษ์ เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยปกป้องรักษาให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นอยู่อย่างแคล้วคลาดปลอดภัย มีความสุข ปราศจากโรคภัย แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นจะต้องทำการบูชาหรือไหว้ศาลพระภูมิด้วยเครื่องสังเวย เช่น ผลไม้ อาหาร เป็นต้น รวมถึงดอกไม้ พวงมาลัย เพื่อแสดงถึงความเคารพศาลพระภูมิ

ก่อนที่จะตั้งศาลพระภูมิได้นั้นจะต้องมีการศึกษาตำแหน่งที่ตั้ง เครื่องสังเวยที่ต้องมาถวาย รวมถึงต้องมีพราหมณ์เป็นคนทำพิธีให้

ในรูปพราหมณ์กำลังทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ
https://www.xn--c3c2azal9d5d4b.com/14611030/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4

สาเหตุที่เป็นพราหมณ์เพราะพราหมณ์เป็นบุคคลที่มีศีลธรรม จิตใจบริสุทธิ์ สุจริต จะส่งผลให้ผู้ที่อาศัยในบ้านเป็นสุข ปราศจากโรคภัย อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น

สิ่งที่กล่าวไปนั้นเป็นแค่ส่วนนึงเท่านั้นในความยิ่งใหญ่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งจุดกำเนิดอยู่ที่อินเดีย แต่อิทธิพลแผ่มาถึงดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนของเรานั่นเอง ยังมีอีกหลายพิธีกรรม สถาปัตยกรรม ที่ยังแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่โดยผ่านสิ่งปลูกสร้าง วัตถุสิ่งของ เป็นต้น

Naiyana Likitchaisak : writer

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *