“”แปซิฟิค”สู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้น

น้ำทะเลอันกว้างใหญ่ มหาศาล มหาสมุทรที่นักเดินเรือคนแรกที่เป็นคนตั้งชื่อ มหาสมุทรแปซิฟิค เฟอร์ดินานด์ แมกแจลแลน นักเดินเรือ นักสำรวจคนสำคัญของโลก

ทิเบต ดินแดนแห่งพุทธ

หลังคาโลก ชื่อนี้หลาย ๆ คน คงเคยได้ยินกัน เป็นที่ตั้งของเขตปกครองตนเองทิเบต ตั้งอยู่บนภูมิภาคเอเชียตะวันออก สภาพภูมิประเทศนั้นเป็นที่ราบสูง มีอากาศหนาวเย็น รวมทั้งมีหิมะปกคลุม ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลก มีกรุงลาซาเป็นเมืองหลวง ประชากรส่วนใหญ่ของทิเบตประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีองค์ดาไล ลามะ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ วิถีชีวิตของผู้คนชาวทิเบตมีศาสนาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต

สภาพภูมิประเทศของเขตปกครองตนเองทิเบต และภาพด้านหลังแสดงให้เห็นสภาพภูมิประเทศซึ่งตั้งอยู่บนหลังคาโลก
รูปภาพจาก http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=17546.0

ชาวทิเบตนับถือศาสนาพุทธ นิกายวัชรยานหรือตันตระยาน ชาวทิเบตมีจิตวิญญาณนับถือพุทธศาสนาอยู่ในหัวใจ ตั้งแต่กิจวัตรประจำวันเช้า-เย็น ทั้งการสวดมนต์ไปขอพรที่วัดใกล้บ้าน ๆ การทำโคลา(การเดินจงกรม) การกราบไหว้พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงที่เคยพบเห็นในสารคดีบ่อย ๆ การจารึกหรือเขียนบทสวดมนต์ คำอวยพร คาถา ไว้บนผืนธงหลากหลายสีสันแล้วรวบรวม เพื่อไปไว้ยังสถานที่ต้องการทำพิธีหรือแขวนผืนธงเหล่านั้น เช่น บริเวณทางเดินตัดภูเขา วัด หรือสถานที่ศักดื์สิทธิ์ตามความเชื่อ ธงหลากหลายสีสันนี่มีชื่อเรียกว่า “ธงมนตรา” ธงที่ถูกรวบรวมจัดเรียงบนเส้นเชือกแล้ว เมื่อจังหวะมีสายลมพัดผ่านมา เชื่อว่าสายลมจะพัดพาบทสวดมนต์ คำอวยพร คาถา ที่อยู่บนผืนธงเหล่านั้นพัดพาสิ่งดี ๆ ไปสู่ชาวทิเบต นักแสวงบุญ รวมไปถึงส่งไปยังบรรดาเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ทั้งพระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม เป็นต้น

ดูธงมนตราในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา บริเวณทางขึ้นเขาไกรลาส ตามความเชื่อของชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นที่ประทับของพระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพรามหณ์-ฮินดู
รูปภาพจาก http://www.hflight.net/forums/topic/13095-cr-peter%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%95-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%993-%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0/

เมื่อดูจากสภาพภูมิประเทศ ที่เป็นทั้งทางคดเคี้ยว เป็นที่ราบสูง พื้นดินขรุขระ ภูมิอากาศที่ค่อนข้างบอบบางหนาวเย็น มีหิมะปกคลุม สายฝนโปรยปราย ไม่ใช่อุปสรรคของชาวทิเบตและนักแสวงบุญเลย แต่มีข้อแม้ว่าต้องมีสภาพร่างกายที่แข็งแรง เนื่องจากพื้นที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปริมาณออกซิเจนในร่างกายควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่เพราะความศรัทธา ความเลื่อมใส ไม่ได้ลดน้อยลงเลย เคยเห็นจากสารคดี ผู้คนเดินเท้าทำโคลาระยะทางประมาณ 52 กิโลเมตร เพื่อไปสักการะ กราบไหว้บูชา ยังเขาไกรลาส ที่นี่เป็นที่พบปะของผู้คน รวมถึงนักแสวงบุญจากทุกสารทิศ เป็นสถานที่คาบเกี่ยวระหว่างศาสนาฮินดู และพุทธ ความตายและการเกิดใหม่ แต่ที่ทำให้เห็นถึงความตั้งใจและความศรัทธาอย่างแรงกล้า คงจะเป็นการเดินและกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ไปด้วยตลอดทาง เดินไป กราบไปจนกว่าจะถึงเขาไกรลาส ในสารคดีนึงของไทยบอกไว้ว่าการกราบอัษฎางคประดิษฐ์ไปยังเขาไกรลาสใช้ระยะเวลาประมาณ 3 วันเลยทีเดียว

ลักษณะภูมิประเทศ เส้นทางที่จะไปเขาไกรลาส หิมะ ความหนาวเย็น ความศรัทธา ความอดทน จะพานักแสวงบุญไปสู่ความสุขอันสูงสุด
รูปภาพจาก http://www.hflight.net/forums/topic/13095-cr-peter%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%95-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%993-%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0/

ดินแดนเอเชียตะวันออก ทิเบต ภูฏาน เนปาล การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ เป็นเรื่องปกติของพุทธศาสนิกชนของผู้คนที่นั่น อัษฎางคประดิษฐ์ เป็นท่วงท่าที่ยากและต้องมีร่างกายที่แข็งแรง เพราะการกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ มีทั้งลุก ก้ม หมอบ ให้อวัยวะทั้ง 8 อย่าง สัมผัสกับพื้น ซึ่งอวัยวะทั้ง 8 อย่าง ได้แก่ มือทั้งสองข้าง เข่าทั้งสองข้าง เท้าทั้งสองข้าง ลำตัว และหน้าผาก เดินสามก้าวแล้วก้มลงกราบ ทำแบบนี้ซ้ำ ๆ ไปมา นักแสวงบุญหลาย ๆ คนกระทำแบบนี้ กราบจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายปลายทาง ไม่ว่าหนทางจะยาวไกล พื้นผิวถนนที่เจอจะเป็นอย่างไร สภาพภูมิอากาศจะเป็นเช่นไร ไม่ใช่อุปสรรค แต่ด้วยจิตใจที่แรงกล้าประกอบกับศรัทธาที่จะอุทิศให้กับพุทธศาสนาไปสู่การหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง รวมถึงมีจิตใจที่บริสุทธิ์

การกราบอัษฎางคประดิษฐ์ที่ถูกต้อง รูปภาพจาก http://www.panpopsooktour.com/2017/09/27/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87/

ปัจจุบันเขตปกครองตนเองทิเบต มีองค์ดาไลลามะเป็นประมุขของคณะสงฆ์พุทธนิกายมหายาน รวมทั้งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต ถ้าบางคนยังไม่ทราบก็คล้าย ๆ กับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข องค์ดาไลลามะองค์ปัจจุบันเดิมชื่อ เทนซิน เกียตโซ ประสูติเมื่อ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 

องค์ดาไลลามะ องค์ปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นองค์ท ี่ 14
รูปภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_14

นอกจากปฏิบัติกิจเกี่ยวกับด้านศาสนาแล้ว พระองค์ยังเคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพมาแล้ว ซึ่งในตอนนั้น พ.ศ.2502 เกิดการประท้วงกับจีน องค์ดาไลลามะทรงต่อสู้ซึ่งได้มาอิสรภาพเพื่อประชาชนชาวทิเบต จนได้รับการยอมรับจากทั่วโลก จึงเป็นที่มาของรางวัลโนเบลดังกล่าว

Naiyana Likitchaisak : Writer


พราหมณ์ -ฮินดู จากอินเดีย สู่อาเซียน

เอเชียใต้แหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลก อาทิ ศาสนาพรามหมณ์ – ฮินดู พุทธ ซิกข์ เชน เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนมีวิธีปฏิบัติ ประวัติการก่อกำเนิดที่น่าสนใจ ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด กำเนิดที่ประเทศอินเดีย ลุ่มแม่น้ำสินธุ ประมาณ 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่ปรากฏว่าใครเป็นศาสดาหรือผู้ก่อตั้ง มีคัมภีร์พระเวทเป็นแหล่งรวบรวมคำสอน มาจากเหล่าฤาษีที่นำไปกล่าวบอกกันปากต่อปาก แล้วมารวบรวมเกิดเป็นคัมภีร์พระเวทขึ้น

ศาสนาฮินดู จะนับถือเทพเจ้า เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ถ้าใครเคยดูซีรี่ส์อินเดียที่เกี่ยวกับตำนานเทพเจ้า พอจะทราบกันบ้างแล้วว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

  • พระศิวะ (พระอิศวร) ผู้ทำลาย
  • พระนารายณ์ (พระวิษณุ) ผู้ปกป้องรักษา
  • พระพรหม ผู้สร้าง

อารยธรรม สถาปัตยกรรม หลากหลายมุ่งสู่ดินแดนที่เรียกว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน จากหลักฐานทั้งจากสิ่งที่จับต้องได้ เช่น ปราสาทหิน รูปปั้น ประติมากรรมฝาผนัง สิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงยุคปัจจุบัน

บริเวณหน้าปราสาทนครวัด
รูปภาพจาก http://www.indochinaexplorer.com/program_detail.php?country=cambodia&code=CA-Hilight-001-3D2N

ปราสาทหินนครวัด สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ระหว่าง พ.ศ.1650-1693 หรือตรงกับสมัยสุโขทัยของไทยในช่วงนั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ฝังศพของพระองค์ รวมถึงสร้างถวายแด่องค์นารายณ์ นอกเหนือจากความใหญ่โตมหึมาแล้ว สถาปัตยกรรมที่เป็นที่พูดถึงอย่างมาก รูปแกะสลักนางอัปสราที่มีมากมาย หน้าตาที่ไม่เหมือนกันเลยสักนาง ลักษณะท่าทางที่แตกต่าง มีอยู่นับพัน ๆ นาง บริเวณรอบปราสาทนครวัดแห่งนี้

รูปแกะสลักประติมากรรมนางอัปสราบางส่วนนครวัด
รูปภาพจาก https://image.makewebeasy.net/makeweb/0/q30cMsAxv/RELAX/IMG_8556.jpg

ตามความเชื่อของคนขอม นางอัปสรามีหน้าที่รับใช้และปกป้องรักษา นครวัดแห่งนี้ เวลาผ่านไปหลายร้อยปีจนกระทั่งถูกค้นพบโดยบังเอิญ นางอัปสราหลายพันนางก็ยังคงทำหน้าที่ได้อย่างดีจนถึงปัจจุบัน

ปราสาทนครวัดตั้งอยู่ที่จังหวัดเสียบเรียบ หรือเสียบราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา

ศิวะลึงค์ หรือสัญลักษณ์ตัวแทนของพระศิวะ

ถ้าเปรียบเทียบกับพุทธศาสนา พระพุทธรูปเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า สำหรับศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู เทพเจ้าสูงสุดคือ องค์พระศิวะ ตัวแทนพระองค์คือศิวลึงค์ หรืออวัยวะเพศชาย สิ่งที่คู่กับศิวลึงค์คือโยนี หรืออวัยวะเพศหญิง ซึ่งหมายถึงพระแม่อุมาเทวี ในประเทศไทยยังคงมีให้พบเห็นบ้าง แต่คนไทยบางส่วนก็ยังนับถือเทพเจ้าของเหล่าศาสนาพรามณ์-ฮินดูกันในปัจจุบัน

รูปศิวะลึงค์ ในปราสาทหินพนมรุ้ง เชื่อว่าศิวะลึงค์แทนตรีมูรติ 3 พระองค์ ซึ่งได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม
รูปภาพจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/jummum/2008/12/15/entry-2

ศิวะลึงค์และโยนี อยู่ด้วยกัน อันหมายถึงความไม่สมบูรณ์ นความไม่เป็นมนุษย์หรือในรูปแบบตัวแทนพระองค์ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ.นครศรีธรรมราช
http://www.archae.su.ac.th/art_in_south/index.php/collections/nakaornsrithammarat/item/48-museum-nakorn-a08.html

ศิวะลึงค์และโยนี ที่ผู้คนนับถือจะมาทำการบูชาหรือขอพรจากพระศิวะและพระแม่อุมาเทวี รูปข้างต้นเป็นศิวะลึงค์และโยนีข้างเซนทรัลปิ่นเกล้า

ศาลพระภูมิ

เชื่อว่าหลากหลายครัวเรือนในประเทศไทย จะต้องมีศาลพระภูมิตั้งอยู่ที่บ้านแน่นอน เป็นที่สถิตของเทพารักษ์ เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยปกป้องรักษาให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นอยู่อย่างแคล้วคลาดปลอดภัย มีความสุข ปราศจากโรคภัย แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นจะต้องทำการบูชาหรือไหว้ศาลพระภูมิด้วยเครื่องสังเวย เช่น ผลไม้ อาหาร เป็นต้น รวมถึงดอกไม้ พวงมาลัย เพื่อแสดงถึงความเคารพศาลพระภูมิ

ก่อนที่จะตั้งศาลพระภูมิได้นั้นจะต้องมีการศึกษาตำแหน่งที่ตั้ง เครื่องสังเวยที่ต้องมาถวาย รวมถึงต้องมีพราหมณ์เป็นคนทำพิธีให้

ในรูปพราหมณ์กำลังทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ
https://www.xn--c3c2azal9d5d4b.com/14611030/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4

สาเหตุที่เป็นพราหมณ์เพราะพราหมณ์เป็นบุคคลที่มีศีลธรรม จิตใจบริสุทธิ์ สุจริต จะส่งผลให้ผู้ที่อาศัยในบ้านเป็นสุข ปราศจากโรคภัย อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น

สิ่งที่กล่าวไปนั้นเป็นแค่ส่วนนึงเท่านั้นในความยิ่งใหญ่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งจุดกำเนิดอยู่ที่อินเดีย แต่อิทธิพลแผ่มาถึงดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนของเรานั่นเอง ยังมีอีกหลายพิธีกรรม สถาปัตยกรรม ที่ยังแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่โดยผ่านสิ่งปลูกสร้าง วัตถุสิ่งของ เป็นต้น

Naiyana Likitchaisak : writer

REVIEW ข้าวกะเพราหมูทอด หน้าวัดอรุณฯ

หลาย ๆ ท่าน คงเคยไปเที่ยวไปชมความสวยงามของวัดอรุณกันบ้างแล้ว เพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ของทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ที่มาเยี่ยมเยียนไม่ขาดสาย นอกจากชมความสวยงามของสถานที่เพลิน ๆ แล้ว เดินไปเดินมา คงจะมีหิวกันบ้างแหละ ใช่มั๊ยค่ะ เดินออกจากวัดไปนิดหน่อย ติดถนนเลย จะมีร้านขายข้าวหมูทอด อยู่ตรงริมฟุตบาท หาไม่ยากเลยค่ะ Continue reading “REVIEW ข้าวกะเพราหมูทอด หน้าวัดอรุณฯ”