หลังคาโลก ชื่อนี้หลาย ๆ คน คงเคยได้ยินกัน เป็นที่ตั้งของเขตปกครองตนเองทิเบต ตั้งอยู่บนภูมิภาคเอเชียตะวันออก สภาพภูมิประเทศนั้นเป็นที่ราบสูง มีอากาศหนาวเย็น รวมทั้งมีหิมะปกคลุม ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลก มีกรุงลาซาเป็นเมืองหลวง ประชากรส่วนใหญ่ของทิเบตประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีองค์ดาไล ลามะ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ วิถีชีวิตของผู้คนชาวทิเบตมีศาสนาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต

รูปภาพจาก http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=17546.0
ชาวทิเบตนับถือศาสนาพุทธ นิกายวัชรยานหรือตันตระยาน ชาวทิเบตมีจิตวิญญาณนับถือพุทธศาสนาอยู่ในหัวใจ ตั้งแต่กิจวัตรประจำวันเช้า-เย็น ทั้งการสวดมนต์ไปขอพรที่วัดใกล้บ้าน ๆ การทำโคลา(การเดินจงกรม) การกราบไหว้พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงที่เคยพบเห็นในสารคดีบ่อย ๆ การจารึกหรือเขียนบทสวดมนต์ คำอวยพร คาถา ไว้บนผืนธงหลากหลายสีสันแล้วรวบรวม เพื่อไปไว้ยังสถานที่ต้องการทำพิธีหรือแขวนผืนธงเหล่านั้น เช่น บริเวณทางเดินตัดภูเขา วัด หรือสถานที่ศักดื์สิทธิ์ตามความเชื่อ ธงหลากหลายสีสันนี่มีชื่อเรียกว่า “ธงมนตรา” ธงที่ถูกรวบรวมจัดเรียงบนเส้นเชือกแล้ว เมื่อจังหวะมีสายลมพัดผ่านมา เชื่อว่าสายลมจะพัดพาบทสวดมนต์ คำอวยพร คาถา ที่อยู่บนผืนธงเหล่านั้นพัดพาสิ่งดี ๆ ไปสู่ชาวทิเบต นักแสวงบุญ รวมไปถึงส่งไปยังบรรดาเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ทั้งพระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม เป็นต้น


รูปภาพจาก http://www.hflight.net/forums/topic/13095-cr-peter%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%95-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%993-%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0/
เมื่อดูจากสภาพภูมิประเทศ ที่เป็นทั้งทางคดเคี้ยว เป็นที่ราบสูง พื้นดินขรุขระ ภูมิอากาศที่ค่อนข้างบอบบางหนาวเย็น มีหิมะปกคลุม สายฝนโปรยปราย ไม่ใช่อุปสรรคของชาวทิเบตและนักแสวงบุญเลย แต่มีข้อแม้ว่าต้องมีสภาพร่างกายที่แข็งแรง เนื่องจากพื้นที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปริมาณออกซิเจนในร่างกายควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่เพราะความศรัทธา ความเลื่อมใส ไม่ได้ลดน้อยลงเลย เคยเห็นจากสารคดี ผู้คนเดินเท้าทำโคลาระยะทางประมาณ 52 กิโลเมตร เพื่อไปสักการะ กราบไหว้บูชา ยังเขาไกรลาส ที่นี่เป็นที่พบปะของผู้คน รวมถึงนักแสวงบุญจากทุกสารทิศ เป็นสถานที่คาบเกี่ยวระหว่างศาสนาฮินดู และพุทธ ความตายและการเกิดใหม่ แต่ที่ทำให้เห็นถึงความตั้งใจและความศรัทธาอย่างแรงกล้า คงจะเป็นการเดินและกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ไปด้วยตลอดทาง เดินไป กราบไปจนกว่าจะถึงเขาไกรลาส ในสารคดีนึงของไทยบอกไว้ว่าการกราบอัษฎางคประดิษฐ์ไปยังเขาไกรลาสใช้ระยะเวลาประมาณ 3 วันเลยทีเดียว

รูปภาพจาก http://www.hflight.net/forums/topic/13095-cr-peter%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%95-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%993-%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0/
ดินแดนเอเชียตะวันออก ทิเบต ภูฏาน เนปาล การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ เป็นเรื่องปกติของพุทธศาสนิกชนของผู้คนที่นั่น อัษฎางคประดิษฐ์ เป็นท่วงท่าที่ยากและต้องมีร่างกายที่แข็งแรง เพราะการกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ มีทั้งลุก ก้ม หมอบ ให้อวัยวะทั้ง 8 อย่าง สัมผัสกับพื้น ซึ่งอวัยวะทั้ง 8 อย่าง ได้แก่ มือทั้งสองข้าง เข่าทั้งสองข้าง เท้าทั้งสองข้าง ลำตัว และหน้าผาก เดินสามก้าวแล้วก้มลงกราบ ทำแบบนี้ซ้ำ ๆ ไปมา นักแสวงบุญหลาย ๆ คนกระทำแบบนี้ กราบจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายปลายทาง ไม่ว่าหนทางจะยาวไกล พื้นผิวถนนที่เจอจะเป็นอย่างไร สภาพภูมิอากาศจะเป็นเช่นไร ไม่ใช่อุปสรรค แต่ด้วยจิตใจที่แรงกล้าประกอบกับศรัทธาที่จะอุทิศให้กับพุทธศาสนาไปสู่การหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง รวมถึงมีจิตใจที่บริสุทธิ์

ปัจจุบันเขตปกครองตนเองทิเบต มีองค์ดาไลลามะเป็นประมุขของคณะสงฆ์พุทธนิกายมหายาน รวมทั้งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต ถ้าบางคนยังไม่ทราบก็คล้าย ๆ กับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข องค์ดาไลลามะองค์ปัจจุบันเดิมชื่อ เทนซิน เกียตโซ ประสูติเมื่อ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2478

รูปภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_14
นอกจากปฏิบัติกิจเกี่ยวกับด้านศาสนาแล้ว พระองค์ยังเคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพมาแล้ว ซึ่งในตอนนั้น พ.ศ.2502 เกิดการประท้วงกับจีน องค์ดาไลลามะทรงต่อสู้ซึ่งได้มาอิสรภาพเพื่อประชาชนชาวทิเบต จนได้รับการยอมรับจากทั่วโลก จึงเป็นที่มาของรางวัลโนเบลดังกล่าว
Naiyana Likitchaisak : Writer